บทที่ 3


1.   จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบ

โครงสร้างข้อมูล (Data Structure)

บิต (Bit = Binary Digit)
     เป็นลำดับชั้นของหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ดังที่ทราบกันดีแล้วว่าข้อมูลที่จะทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้นั้น จะต้องเอามาแปลงให้อยู่ในรูปของเลขฐานสองเสียก่อนคอมพิวเตอร์จึงจะเข้าใจและทำงานตามที่ต้องการได้ เมื่อแปลงแล้วจะได้ตัวเลขแทนสถานะเปิดและปิด ของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า บิต เพียง 2 ค่าเท่านั้นคือ บิต 0 และบิต 1

ไบต์ (Byte)
     เมื่อนำบิตมารวมกันหลายๆบิต จะได้หน่วยข้อมูลกลุ่มใหม่ที่เรียกว่า ไบต์ (Byte) ซึ่งจำนวนของบิตที่ได้นั้นแต่ละกลุ่มอาจมีมากหรือน้อยบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของรหัสที่ใช้เก็บ แต่โดยปกติกับการใช้งานในรหัสแอสกีทั่วไปจะได้กลุ่มของบิต 8 บิตด้วยกัน ซึ่งนิยมมาแทนเป็นรหัสของตัวอักษร บางครั้งจึงนิยมเรียกข้อมูล 1 ไบต์ว่าเป็น 1 ตัวอักษร

ฟีลด์ หรือเขตของข้อมูล (Field)
     ประกอบด้วยกลุ่มของตัวอักษรหรือไบต์ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปมาประกอบกันเป็นหน่วยข้อมูลที่ใหญ่ขึ้นแล้วแสดงลักษณะหรือความหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง ยกตัวอย่างเขตข้อมูลเกี่ยวกับพนักงาน เช่น รหัสพนักงาน ชื่อ นามสกุล เงินเดือน ตำแหน่ง

เรคคอร์ด (Record)
     เป็นกลุ่มของเขตข้อมูลหรือฟีลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน และนำมาจัดเก็บรวมกันเป็นหน่วยใหม่ที่ใหญ่ขึ้นเพียงหน่วยเดียว ปกติในการจัดการข้อมูลใดมักประกอบด้วยเรคคอร์ด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลเป็นหลัก

ไฟล์ หรือแฟ้มตารางข้อมูล (File)
     ไฟล์ หรือแฟ้มข้อมูล เป็นการนำเอาข้อมูลทั้งหมดหลายๆเรคคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูแปบของแฟ้มตารางข้อมูลเดียวกัน เช่น แฟ้มตารางข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนนักศึกษาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจประกอบด้วยเรคคอร์ดของนักศึกษาหลายๆคนที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับ รหัสนักศึกษา ชื่อ นามสกุล และคะแนนที่ได้

ฐานข้อมูล (Database)
คือ หลายไฟล์ข้อมูลมารวมกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลนักเรียนมารวมกันในงานทะเบียน แล้วรวมกับไฟล์การเงิน

ที่มา : http://naratx.blogspot.com
 
 
2.   จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์

1. การประมวลผลแบบแบช ( Batch Processing ) การประมวลผลแบบแบชนั้นเมื่อข้อมูลมาถึงคอมพิวเตอร์แล้วจะถูกรวบรวมหรือเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงนำมาประมวลผล จะอาศัยระยะเวลาในการเก็บนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ หรืออาจจะเป็นเงื่อนไขเกี่ยวกับเวลาที่ได้กำหนดไว้ก็ได้

2. การประมวลผลแบบเวลาจริงหรือแบบเรียลไทม์ เป็นการประมวลผลที่คอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลในทันทีที่มีข้อมูลเข้ามาถึงคอมพิวเตอร์ และส่งผลลัพธ์จากการประมวลผลไปให้ผู้ใช้ในทันที ซึ่งการประมวลผลแบบนี้จะทำให้ข้อมูลในระบบฐานข้อมูลเป็นปัจจุบันเสมอ การประมวลผลแบบเวลาจริงนี้ระบบนำข้อมูลเข้า ระบบแสดงผลของคอมพิวเตอร์จะเชื่อมโยงกันตลอดเวลา หากอุปกรณ์ต่างๆ อยู่ห่างไกลกันก็จะต้องมีเครือข่ายการสื่อสารเชื่อมโยงเข้ากับคอมพิวเตอร์ ทำให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นถูกส่งเข้ามายังคอมพิวเตอร์ทันที การประมวลผลแบบนี้

       ที่มา : http://deknoimeawa.blogspot.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น