ข้อ
1
“ เทคโนโลยี ”
เทคโนโลยี (Technology) คือ การใช้ความรู้ เครื่องมือ ความคิด
หลักการ เทคนิค ความรู้ ระเบียบวิธี กระบวนการตลอดจน
ผลงานทางวิทยาศาสตร์ทั้งสิ่งประดิษฐ์และวิธีการ
มาประยุกต์ใช้ในระบบงานเพื่อช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานให้ดียิ่ง
ขึ้นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานให้มีมากยิ่งขึ้น
1.ประสิทธิภาพ (Efficiency) เทคโนโลยีจะช่วยให้การทำงานบรรลุผลตามเป้าหมายได้ เที่ยงตรงและรวดเร็ว
2.ประสิทธิผล (Productivity) เกิดผลผลิตเต็มที่ ได้ประสิทธิผลสูงสุด
3.ประหยัด (Economy) ประหยัดทั้งเวลาและแรงงาน ลงทุนน้อยแต่ได้ผลมาก
2.เป็นปัจจัยหลักที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนา
3.เป็นเรื่องราวของมนุษย์ และธรรมชาติ
ในช่วงสองทศวรรษทีผ่านมา
วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี ได้มีบทบาทสำคัญเพิ่มขึ้นจนสามารถสร้างนวัตกรรม (Innovation)
ซึงก็คือ การเรียนรู้ การผลิตและ การใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่
ให้เกิดผลทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม
เทคโนโลยีทำให้สังคมโลกที่เรียบง่าย กลายเป็นสังคมที่มีการดำรงชีวิตที
สลับซับซ้อนมากขึ้น ก่อให้เกิดกระแสแห่งความไร้พรมแดน หรือกระแสโลกาภิวัฒน์
ทีเข้ามาสู่ทุกประเทศอย่าง รวดเร็ว จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ
อันเป็นการผสมผสาน 4 ศาสตร์ เข้าด้วยกันได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์
โทรคมนาคม และข่าวสาร (Electronics , Computer ,Telecomunication and
Information หรือเรียกย่อๆ ว่า ECTI ) ทำให้สังคมโลกสามารถสื่อสารกันได้ทุกแห่งทั่วโลกอย่างรวดเร็ว
สามารถรับรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวต่างๆ ได้พร้อมกัน
สามารถบริหารจัดการและตัดสินใจได้ทุกขณะเวลา การลงทุนค้าขาย และธุรกรรมการเงินที่ได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้น เทคโนโลยี กำลังทำให้โลกใบนี้ “เล็กลง” ทุกขณะ
วิวัฒนาการสามารถแบ่งได้เป็น
5 ยุค
- ยุคหิน (Stone age)- ยุคทองสัมฤทธิ์ ( Bronze age)
- ยุคเหล็ก (Iron age)
- ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)
ลักษณะของเทคโนโลยี
สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)
1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือ
ความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ
2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม
เทคโนโลยีชีวภาพ
ตัวอย่าง
งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศที่ใช้ดำเนินงานดังกล่าว
ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องสแกนเนอร์ โทรทัศน์
อ้างอิง www.com5dow.com
_________________________________________________________________________________________________________
“ สารสนเทศ (Information) ”
สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลต่างๆ
ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมีการประมวลผลหรือวิเคราะห์สรุปผลด้วยวิธีการต่าง
ๆแล้วเก็บรวบรวมไว้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามต้องการการประมวล (Data Processing)เป็นการนำข้อมูลจากแหล่งต่างๆที่เก็บรวบรวมไว้มาผ่านกระบวนการต่างๆเพื่อแปรสภาพข้อมูลให้เป็นระบบและอยู่ในรูปแบบที่ต้องการ
ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข
2. Software หมายถึง ชุดคำสั่ง หรือเรียกให้เข้าง่ายว่า โปรแกรม ที่สามารถ
สั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะที่ต้องการภายใต้ขอบเขตความสามารถที่เครื่อง
คอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมนั้น ๆ สามารถทำได้ ซอร์ฟแวร์แบ่งออกเป็น ซอร์ฟแวร์ระบบ
และ ซอร์ฟแวร์ประยุกต์
3. User หมายถึง กลุ่มผุ้คนที่ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
4. Data หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น
ตัวหนังสือ แสง สี เสียง สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ภาพ วัตถุ หรือ หลาย ๆ อย่างผสมผสาน
กัน ซึ่งข้อมูลที่ดีจะต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้
5. Procedure หมายถึง ขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการปฏิบัติงาน
ในระบบสารสนเทศ
ความสำคัญของสารสนเทศ
การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะโดยอาศัยทรัพยากรเป็นพื้นฐานสำคัญ
2. การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศของบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ต้องพิจารณามาตรฐาน คุณภาพ บริการหลังการขาย และเปรียบเทียบราคา แล้วจึงค่อยตัดสินใจ เป็นต้น
3. การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ เช่น เกษตรกร เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดกับพืชผลทางการเกษตรของตน ก็สามารถหาตัวยาหรือสารเคมีเพื่อมากำจัดโรคระบาด ดังกล่าวได้ เป็นต้น
4. สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีอำนาจสามารถาชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ
การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อความสำเร็จของบุคคลในด้านต่างๆ ดังนี้
1. การศึกษา การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาของบุคคลทุกระดับ ทั้งการศึกษาในระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบโรงเรียน การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในปัจจุบันตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีการปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นบทบาทของผู้สอนจึงเปลี่ยนเป็นผู้ให้คำแนะนำชี้แนะโดยอาศัยทรัพยากรเป็นพื้นฐานสำคัญ
2. การดำรงชีวิตประจำวัน การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะผู้รู้สารสนเทศจะเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์ประเมินและใช้สารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ตนเองเมื่อต้องการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ถ้าต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศของบริษัทใดบริษัทหนึ่งก็ต้องพิจารณามาตรฐาน คุณภาพ บริการหลังการขาย และเปรียบเทียบราคา แล้วจึงค่อยตัดสินใจ เป็นต้น
3. การประกอบอาชีพ การรู้สารสนเทศมีความสำคัญต่อการประกอบอาชีพของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะบุคคลนั้นสามารถแสวงหาสารสนเทศที่มีความจำเป็นต่อการประกอบอาชีพของตนเองได้ เช่น เกษตรกร เมื่อประสบปัญหาโรคระบาดกับพืชผลทางการเกษตรของตน ก็สามารถหาตัวยาหรือสารเคมีเพื่อมากำจัดโรคระบาด ดังกล่าวได้ เป็นต้น
4. สังคม เศรษฐกิจ และการเมือง การรู้สารสนเทศเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะสังคมในยุคสารสนเทศ (Information Age) บุคคลจำเป็นต้องรู้สารสนเทศเพื่อปรับตนเองให้เข้ากับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การอยู่ร่วมกันในสังคม การบริหารจัดการ การดำเนินธุรกิจและการแข่งขัน การบริหารบ้านเมืองของผู้นำประเทศ เป็นต้น อาจกล่าวได้ว่าผู้รู้สารสนเทศ คือ ผู้ที่มีอำนาจสามารถาชี้วัดความสามารถขององค์กรหรือประเทศชาติได้ ดังนั้นประชากรที่เป็นผู้รู้สารสนเทศจึงถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุดของประเทศ
ปัจจุบันจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น
และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ
กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน
ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป
ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร
จะแบ่งระบบ
สารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้ (Laudon &
Laudon, 2001)
1. ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level
systems) ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร
เช่นใบเสร็จรับเงิน รายการขาย การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น
วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน
และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น
2. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems) ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้
และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร
4. ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system) เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก
ตัวอย่าง
งานสื่อสารสนเทศด้วยเสียง เช่นการคุยโทรศัพท์
อ้างอิง http://www.thaigoodview.com
_________________________________________________________________________________________________________
“ เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
”
เทคโนโลยีสารสนเทศ
หมายถึง เทคโนโลยี ที่เป็นการรวมคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอื่น ๆ เช่น เทคโนโลยีด้าน
ฮาร์ดแวร์ ด้านซอฟต์แวร์ ด้านฐานข้อมูล ด้านโทรคมนาคมและการสื่อสาร
เทคโนโลยีเครือข่าย มาทำงานร่วมกัน
เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนสารสนเทศโดยผ่านทางอิเลคทรอนิคส์
หรือข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล
หรือข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์สามารถนำไปใช้งานได้
หมายถึง อุปกรณ์ทาง อิเลคทรอนิคส์ที่สามารถทำการกำหนดชุดคำสั่ง (Programmable) ในการนำข้อมูลเข้ามาทำการประมวลผลให้เกิดเป็นสารสนเทศที่เกิดประโยชน์และนำสารสนเทศเหล่านั้นเก็บและนำมาใช้ต่อไปได้ โดยสารสนเทศหรือชุดคำสั่งเหล่านี้จะใช้พื้นฐานการทำงานแบบดิจิตอลที่เป็นสัญญาณของ 2 สถานะ (Binary Signals) คือ เปิดและปิด ซึ่งต่างจากสัญญาณอนาลอกที่เราพบเห็นอยู่ เช่น สัญญาณเสียง สัญญาณภาพ เป็นต้น
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน
คือ ส่วนนำข้อมูลเข้า (Input) ส่วนประมวลผล (Process)
ส่วนแสดงผล (Output) และส่วนเก็บข้อมูล (Storage)
คำว่าฮาร์ดแวร์นั้นหมายถึงตัวอุปกรณ์ที่มองเห็นและสัมผัสได้
โดยทั่วไปประกอบด้วย
1. อุปกรณ์อินพุต (Input devices) เป็นอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลและคำสั่ง
ที่สำคัญได้แก่แป้นพิมพ์ เมาส์ สะแกนเนอร์ (Scanner) ดิจิไตเซอร์
(Digitizer) หรือเครื่องอ่านพิกัด เครื่องอ่านบัตรแม่เหล็ก
เครื่องขับดิสเก็ตต์ จอภาพแบบสัมผัส (Touch screen) กล้องถ่ายภาพดิจิทัล
และ ไมโครโฟน2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit หรือ CPU) เป็นหน่วยที่ประกอบด้วยวงจรประมวลผลที่ซับซ้อน ประกอบด้วยสองหน่วยสำคัญคือ หน่วยควบคุม (Control Unit) และ หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic Logic Unit) ผู้เชี่ยวชาญบางคนนับหน่วยความจำเป็นส่วนหนึ่งของ CPU ด้วย แต่บางคนก็นับแยกออกไปต่างหาก
3. หน่วยเอาท์พุตหรือหน่วยแสดงผล ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่รู้จักกันดีได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์แบบต่าง ๆ เครื่องพลอตเตอร์ (Plotter) หรือเครื่องวาด และ ลำโพง
4. หน่วยความจำรอง (Secondary storage) ได้แก่อุปกรณ์สำหรับบันทึกข้อมูลเอาไว้อย่างถาวรได้แก่ จานแม่เหล็กหรือฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดีรอม เทปแม่เหล็ก ฯลฯ
ซอฟต์แวร์เป็นคำรวมที่ใช้เรียกโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ให้ทำงาน โดยทั่วไปเราแบ่งซอฟต์แวร์เป็น
1. ซอฟต์แวร์ระบบ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ระบบ
คือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมฮาร์ดแวร์ในระดับลึกแทนมนุษย์
ซอฟต์แวร์ระบบที่สำคัญที่สุดก็คือ ระบบปฏิบัติการ (Operating
System) ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทุกอย่างล้วนอยู่ภายใต้การควบคุมของระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการช่วยจัดการทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เช่น
จัดการหน่วยความจำโดยการแบ่งให้โปรแกรมต่าง ๆ
เข้ามาใช้หน่วยความจำได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่สับสน ควบคุมและจัดการการบันทึกแฟ้มข้อมูลและแฟ้มข้อมูลบนจานแม่เหล็ก
และควบคุมการนำโปรแกรมประยุกต์เข้ามาดำเนินการ
โปรแกรมประยุกต์
คือโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ
แบ่งเป็น 2 ชนิด1.โปรแกรมประยุกต์ใช้งานทั่วไป
โดยปกติเราเรียกโปรแกรมประเภทนี้ว่าโปรแกรมสำเร็จ ปัจจุบันนี้การใช้คอมพิวเตอร์โดยส่วนก็ใช้โปรแกรมชนิดเป็นจำนวนมาก อาทิ
- โปรแกรมประมวลคำ (Word Processing)
- โปรแกรมสเปรดชีต (Spreadsheet)
- โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล (Database Management System)
- โปรแกรมการจัดพิมพ์ตั้งโต๊ะ (Desktop publishing)
2.โปรแกรมประยุกต์ใช้งานทั่วไป โดยพัฒนาโปรแกรมทางเอง
- โปรแกรมบัญชีต่าง ๆ เช่น โปรแกรมบัญชีเงินเดือน โปรแกรมสั่งซื้อสินค้า - โปรแกรมสินค้าคงคลัง โปรแกรมบัญชีลูกหนี้ โปรแกรมบัญชีเจ้าหนี้
- โปรแกรมที่ใช้ในงานนั้น ๆ เช่นระบบโรงงานใช้โปรแกรม MRP ระบบโรงพยาบาลใช้ โปรแกรม HIS หรือโปรแกรมลงทะเบียน
โดยทั่วไประบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย
1. 2. 3. 4. 5. |
ซอฟต์แวร์สำหรับควบคุมการทำงาน ปกติคือ Network OS เครื่องปลายทางสำหรับใช้ในการป้อนข้อมูลและโปรแกรม และในบางครั้งอาจจะทำงานประมวลผลได้ด้วย หากเป็นเครื่องที่มีหน่วยประมวลผลในตัว อุปกรณ์โทรคมนาคม เช่น โมเด็ม มัลติเพลกเซอร์ และ อุปกรณ์ประมวลผลส่วนหน้า ช่องทางสื่อสารสำหรับใช้ส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ มาตรฐานในการสื่อสารติดต่อสำหรับให้อุปกรณ์สื่อสารรู้ว่ามีการรับส่งข้อมูลหรือข้อความอะไรบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดระบบเครือข่ายที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน ในที่นี้จะแนะนำแต่เพียงย่อ ๆ |
ระบบโทรคมนาคมเป็นระบบที่ซับซ้อนก็จริงอยู่ แต่สามารถจัดเป็นองค์ประกอบหลัก ๆ ได้ดังต่อไปนี้
-
ช่องทางการสื่อสาร หมายถึงวิธีการในการสื่อสาร
- ตัวกลางสื่อสาร หมายถึงส่วนที่ใช้ในการนำพาสัญญาณระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ
- อุปกรณ์ประมวลสัญญาณ ได้แก่อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยดำเนินการในการส่งสัญญาณจากผู้ส่งไปยังผู้รับ
- ซอฟต์แวร์ หมายถึงโปรแกรมและคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการสื่อสาร
เมื่อนำอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมมาจัดวางให้ทำงานร่วมกัน
ก็จะเกิดเป็นโครงสร้างของเครือข่ายซึ่งเรียกว่า โตโปโลจี (Topology) หรือ สถาปัตยกรรมของเครือข่าย- ตัวกลางสื่อสาร หมายถึงส่วนที่ใช้ในการนำพาสัญญาณระหว่างผู้ส่งกับผู้รับ
- อุปกรณ์ประมวลสัญญาณ ได้แก่อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ช่วยดำเนินการในการส่งสัญญาณจากผู้ส่งไปยังผู้รับ
- ซอฟต์แวร์ หมายถึงโปรแกรมและคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการสื่อสาร
ฐานข้อมูลประกอบด้วยส่วนประกอบต่าง ๆ จากระดับง่ายสุดไปยากสุดดังต่อไปนี้
- อักขระ เช่น ตัวอักษร และ ตัวเลข
- เขตข้อมูล (field) เป็นส่วนย่อยที่สุดที่มีความหมายและสามารถตั้งชื่อได้
- ระเบียน (record) คือกลุ่มของเขตข้อมูล
- แฟ้ม (file) คือกลุ่มของระเบียน
- ฐานข้อมูล (database) คือกลุ่มของแฟ้ม
ตัวอย่าง
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ
__________________________________________________________________________________________________________
“ ข้อมูล ”
ข้อมูลหมายถึงอะไร
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่ ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล ซึ่งข้อมูลอาจจะได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน เพศ อายุ เป็นต้น
สารสนเทศ
(Information) หมายถึง
ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ
เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไปปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ข้อมูลที่เราพบเห็นทุกวันนี้
มีหลายรูปแบบ เช่นเป็นตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียงต่าง ๆ เรา
2.การรับรู้ทางหู ได้แก่ การได้ยินเสียงผ่านเข้ามาทางหู เช่น ข้อมูลเสียงเพลง เสียงพูด เสียงรถ เป็นต้น
3.การรับรู้ทางมือ ได้แก่ การสัมผัสกับข้อมูล เช่น การจับเสื้อผ้าแล้วรู้สึกว่านุ่ม เป็นเนื้อผ้าเป็นต้น
4.การรับรู้ทางจมูก ได้แก่ การได้กลิ่น เช่น หอมกลิ่นอาหาร กลิ่นดอกไม้ กลิ่นขยะ เป็นต้น
5.การรับรู้ทางปาก ได้แก่ การรู้สึกถึงรส โดยการสัมผัสทางลิ้น เช่น เผ็ด หวาน ขม เป็นต้น
2. ข้อมูลอักขระ ประกอบด้วย ตัวอักษร ตัวเลข และอักขระพิเศษหรือเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ เช่น บ้านเลขที่ 13/2 เป็นต้น ถ้ามีตัวเลขประกอบ จะมิได้นำมาคำนวณ
3. ข้อมูลภาพ รับรู้จากการมองเห็น เช่น ภาพดารา ภาพสัตว์ต่าง ๆ
4. ข้อมูลเสียง รับรู้จากทางหูหรือการได้ยิน เช่นเสียงพูด เสียงเพลง เป็นต้น
2. ด้านการติดต่อสื่อสาร เช่น ถ้าเรามีข้อมูล เราสามารถที่จะสนทนาพูดคุย หรือบอกเรื่องต่าง ๆ ให้กับผู้อื่นได้
3. ด้านการตัดสินใจ เป็นการใช้ช่วยให้เราตัดสินใจต่าง ๆ ได้ดีขึ้น เช่น การเลือกซื้อของเล่น ถ้าเราทราบราคาของเล่น ในแต่ละร้าน จะทำให้เราเลือกซื้อของเล่นที่เหมือนกันได้ในราคาที่ถูกที่สุด
ตัวอย่าง
ข้อมูลเสียง รับรู้จากทางหูหรือการได้ยิน เช่นเสียงพูด เสียงเพลง
อ้างอิง
____________________________________________________________________________________________________________
“ ระบบฐานความ รู้ (Knowledge-based)
”
เป็นระบบที่เก็บรวบรวมข้อมูลไว้ใช้ในการแก้ปัญหา
เพื่อใช้เป็นฐานในการตัดสินใจในการปฏิบัติงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบผู้เชี่ยวชาญ
เป็นระบบที่อาศัยความรู้เป็นพื้นฐาน
เป็นระบบที่มีความเกี่ยวข้องกับการช่วยตัดสินใจ ซึ่งสามารถใช้ได้กับระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
(MIS) ได้ทุกเรื่อง
สิ่งที่สำคัญทางด้านปัญญาประดิษฐ์
(AI) มี 2 ประการ คือ (1)
ความสามารถที่จะเข้าใจภาษาธรรมชาติ (2) ความสามารถที่จะให้เหตุผล ดังนั้น
ความหมายของปัญญาประดิษฐ์ (AI) จึงหมายถึง
ความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีระบบการทำงานคล้ายคลึงกับสติปัญญาของ มนุษย์
จึงถูกเรียกว่าปัญญาประดิษฐ์ [Artificial Intelligence (AI)]
ระบบสำนักงานอัตโนมัติ หรือโอเอเอส [Office
Automation System – OAS]
โดยสามารถจำแนกระบบสำนักงานอัตโนมัติออกตามหน้าที่เป็น
1)
การสื่อสารภายในสำนักงาน เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมล์ (e-mail) ไปรษณีย์เสียงหรือเมล์เสียง (voice
mail) การประชุมทางไกล (teleconferencing)
โทรสาร (fax) เป็นต้น2) เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำนักงาน เช่นการประมวลคำ (word processing) การประมวลภาพลักษณ์ (image processing) การพิมพ์ตั้งโต๊ะ ซึ่งเป็นการผลิตเอกสารที่มีคุณภาพดีการออกแบบกราฟิกและรูปแบบประเภทต่างๆ (desktop publishing) การแปลงภาพและเอกสารในรูปดิจิทัล (digitization)
3) เพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงาน ปฏิบัติงานร่วมกัน เช่น กรุ๊ปแวร์ (groupware) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สนับสนุนการทำงานร่วมกัน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ การสื่อสาร การร่วมมือ (collaboration) และการประสานงาน (coordination) ระบบอินทราเน็ต เป็นทางเลือกที่สำคัญของการใช้ กรุปแวร์
ตัวอย่าง
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานสำนักงาน เช่นการประมวลคำ (word processing) การประมวลภาพลักษณ์ (image
processing) การพิมพ์ตั้งโต๊ะ
อ้างอิง http://www.gotoknow.org
__________________________________________________________________________________________________________
ข้อ
2
1.ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่า ระบบการประมวลผลรายการ เป็นการประมวลข้อมูลที่เป็นการดำเนินงานประจำวันภายในองค์การ เช่น การทำบัญชี การจองตั๋ว เป็นต้น
2.ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน เช่น สารสนเทศที่เกี่ยวกับการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมและการควบคุมคุณภาพสินค้า ที่ได้จากกระบวนการผลิต
3.ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้น ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ เช่น สารสนเทศที่เป็นรายงานสรุปยอดรวมของการขายสินค้าในแต่ละภาค เป็นต้น
4.ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่า การวางแผนกลยุทธ์ เช่น สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า สภาวะการตลาด ความสามารถของคู่แข่งขัน เป็นต้น
ตัวอย่าง
การทำรายงาน สรุปยอดรายการต่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น